Category: Uncategorized

ข้อปฏิบัติเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICT) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
  • เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอกเนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูง ขึ้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ IT มีราคาถูกลงมาก

ภัยแฝงออนไลน์

  • สารสนเทศมากมายมหาศาล ทั้งดีและไม่ดี ส่งตรงถึงห้องนอน
  • คนแปลกหน้า/ผู้ไม่ประสงค์ดี ใช้ไอทีเป็นช่องทางหาเหยื่อ เราอาจตกเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำเสียเอง
  • สังคมออนไลน์ การรวมกลุ่ม ค่านิยม แฟชั่น ทำให้เด็กและเยาวชนคล้อยตาม ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี ความฟุ้งเฟ้อ ความเชื่อผิดๆ
  • การที่ใช้งานง่าย แพร่หลาย ราคาถูก ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย/ผิดศีลธรรม ทั้งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเจตนาก็ตาม
  • การใช้เวลากับของเล่นไอที/โลกออนไลน์มากจนเกินไป ส่งผลในด้านลบ อาจทำให้เสียโอกาสการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ

การเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็ก
กฎสำหรับการใช้อีเมล์

  • ไม่ให้ที่อยู่อีเมล์แก่คนที่เราไม่รู้จัก
  • ไม่เปิดอีเมล์จากคนหรือองค์กร/ธุรกิจที่เราไม่รู้จัก
  • อีเมล์อาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีมากมาย เช่น เรื่องราวที่ไม่เป็นจริง การติฉินนินทา และจดหมายลูกโซ่ที่พยายามจะเอาเงินจากกระเป๋าเรา
  • ไวรัส อาจผ่านมากับข้อมูลอีเมล์ เข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของเรา
  • ภาพที่ไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย ภาพยนตร์ อาจถูกส่งมาพร้อมกับข้อมูลอีเมล์

วิธีการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์

  • ปิดหน้าเว็บ
  • ไม่ได้ผล ปิดเบราเซอร์ browser
  • ถ้ายังไม่ได้ผล ปิดคอมพิวเตอร์พร้อมกับแจ้งผู้ปกครองหรือครู
  • จำไว้ว่า เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการบอกให้คนอื่นทราบหากเราพบอะไรผิดพลาด

กฎของการแชท

  • ไม่สามารถเชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอย่างที่เค้าพูด
  • อย่าให้ชื่อจริง ควรใช้ชื่อสมมุติ
  • อย่าให้ข้อมูลว่าคุณอยู่ทีไหน หมายเลขโทรศัพท์ (โทรศัพท์มือถือ) เรียนอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร
  • ทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงกฎของแต่ละห้องแชท ที่จะเข้าไปเล่น
  • ให้จำไว้ว่าคุณอาจเป็นบุคคลนิรนามในอิน เทอร์เน็ต แต่บ่อยครั้งที่คนอื่นสามารถสืบเสาะได้ว่าใครเป็นคนใส่ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมีความสุภาพกับผู้อื่นเสมอ

กฎของการแชท การสื่อสารทางออนไลน์

  • ไม่ออกไปพบกับบุคคลที่พบ รู้จักสื่อสารผ่านทางออนไลน์
  • ถ้ารู้สึกถูกกดดัน จากการสื่อสารออนไลน์กับใคร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
  • ให้ชื่ออีเมล์กับเพื่อนที่รู้จักดี ไม่ควรให้กับคนแปลกหน้า
  • ปรึกษา หารือกับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบเสมอ อย่าให้ถูกหลอกล่อ หรือถูกกดดันเพื่อไปพบเจอกับคนที่รู้จักออนไลน์
  • หากถูกใครหรือสิ่งใดรบกวนในห้องแชท ให้รีบออกจากการสนทนา และอย่าติดต่อ สนทนาอีก

กฎ – การป้องกันไวรัส และข้อมูลขยะ

  • หากข้อมูลบางอันรู้สึกดีเกินที่จะเชื่อได้ สรุปได้เลยว่าไม่จริง
  • ให้ระวังอีเมล์ที่บอกว่าโปรดส่งต่อให้ทุก ๆ คน เพราะอาจจะมีแต่เรื่องหลอกลวงไร้สาระ หรือมีไวรัสที่ไม่ควรส่งต่อ
  • อย่าเข้าไปในเวบไซด์ของธนาคารใด ๆ ที่อ้างบอกให้คุณแจ้งรหัสผ่าน
  • เก็บรหัสผ่านเป็นความลับเสมอ
  • ให้ระมัดระวัง เวบไซด์ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี หรือมีเกมให้เล่นฟรี เพราะอาจเต็มไปด้วยไวรัส หรือจะมีข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่งมาให้คุณ
  • บางครั้ง บางคนอาจจะใช้ เล่ห์ ลวงให้คุณเชื่อมต่อไปยังเวบไซด์ที่ไม่เหมาะสม

กฎการเผยแพร่เรื่องราวในเว็บบล็อก

  • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าใส่เฉพาะข้อมูลที่ปลอดดภัย
  • ให้มีรหัสส่วนตัวเพื่อปกป้องรูปภาพของคุณ
  • ต้องได้รับการอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ในการสร้างเวบไซด์ของคุณเอง และให้ท่านเหล่านั้นช่วยตรวจสอบ ทบทวนสม่ำเสมอ
  • อย่าใส่เรื่องราวส่วนตัวเข้าไปในเว็บบล็อก หรือ ในการสนทนากลุ่ม
  • จำเป็นต้องมีความระมัดระวังมาก ๆ ในการใส่อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต เพราะทันทีที่มีการเผยแพร่คนจากทั่วโลกสามารถเห็นได้ และอาจมีการนำข้อมูลไปใช้ในทางผิด ๆ

ข้อแนะนำการใช้อินเตอร์เน็ต

  • เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต netiquette
  • ทำตามหลักพื้นฐานความปลอดภัย และเรียนรู้วิธีการ แนวปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยงออนไลน์

มารยาททั่วไปในการใช้อินเตอร์เน็ต

  • ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อล่วงละเมิดหรือรบกวน ผู้อื่น
  • ไม่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
  • ไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ในทางที่ผิด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น ๆ
  • ไม่บอกรหัสกับผู้อื่นแม้แต่เพื่อนสนิท
  • ไม่ใช้บัญชีชื่อผู้ใช้ของผู้อื่น หรือใช้เครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ไม่ยืมหรือใช้โปรแกรม รูปภาพ หรือข้อมูลของผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ร้บอนุญาตจากเจ้าของ
  • ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
  • ไม่เจาะเข้าระบบของผู้อื่นหรือท้าลองให้ผู้อื่นเจาะระบบของตัวเอง
  • หากพบมีการรั่วไหลในระบบ หรือบุคคลน่าสงสัยให้รีบแจ้งผู้ให้บริการในทันที
  • หากต้องยกเลิกการใช้อินเตอร์เน็ตให้ลบข้อมูลทั้งหมดและแจ้งผู้ดูแลเว็บไซต์
  • ารทิ้งบัญชีชื่อผู้ใช้งานไว้บนอินเตอร์เน็ตอาจทำให้มีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้ามาในระบบได้

กฎความปลอดภัย

  • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครอง
  • ไม่นัดแนะเพื่อพบปะกับบุคคลที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่บอกผู้ปกครอง
  • ไม่ส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
  • ไม่ให้ความสนใจหรือตอบโต้กับคนที่ถ้อยคำหยาบคาย
  • ไม่โหลดสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือเปิดเอกสารจากอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จัก
  • หากพบข้อความหรือรูปภาพรุนแรง ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือคุณครู
  • เคารพในกฎระเบียบ นโยบาย หรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับผู้ปกครองและคุณครูในการใช้อินเตอร์เน็ต

10 วิธี ดูแลบุตรหลานที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต

  • พ่อแม่ควรเรียนรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตบ้าง
  • ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตกับลูกให้มากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องพูดคุยกัน
  • ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องรวมของครอบครัว
  • ท่านต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้งานอินเทอร์เน็ตก่อนที่จะสอนลูก
  • สอนลูกให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ละอย่าง เช่น อีเมล์ แช็ต กลุ่มข่าว เว็บ การสำเนาข้อมูล รวมถึงกฎกติกามารยาทออนไลน์
  • ส่งเสริมให้ลูกใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสนุก ปลอดภัย และได้ประโยชน์
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ดูว่าเขาทำตัวแปลกไปกว่าที่เคยหรือไม่
  • พูดคุยกับลูกให้เข้าใจแต่แรก ถึงขอบเขตการใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • ผู้ปกครองอาจติดตั้งโปรแกรมบล็อกเว็บไซต์ได้
  • หากท่านพบอะไรที่เหลือบ่ากว่าแรง อย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ

โครงงานคอมพิวเตอร์

ความหมายของโครงงาน

โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการนำเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง
หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน
มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา เช่น โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์

2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ เป็นโครงงานที่สร้างเครื่องมือ ใช้สร้างงาน ส่วนใหญืจะอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป

3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ

4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน

5. โครงงานพัฒนาเกม เพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมารุก

หลักการทำโครงงาน

เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
* ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าเอง
* ลงมือปฏิบัติเอง
* นำเสนอโครงงานเอง
* ร่วมกำหนดแนวทางวัดผลและประเมินผล

จุดมุ่งหมายในการทำโครงงาน

* เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
* เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
* เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น รู้จักทำงานร่วมกับบุคคลอื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบฯ
* เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทำโครงงานตามความสนใจ

ประเภทของโครงงาน

ประเภทโครงงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณการเป็นโครงงานและปฏิบัติ
สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์
1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง
3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงาน
4. โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น

1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงาน ส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าว อาจมีผู้จัดทำขึ้นแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการจัดทำใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ศึกษาโครงงาน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เช่น

* การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
* การสำรวจงานบริการและสถานประกอบการในท้องถิ่น
2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยศึกษาหลักการและออกแบบการค้นคว้า ในรูปแบบการทดลองเพื่อยืนยันหลักการ ทฤษฎี เพื่อศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น
* การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
* การทำขนมอบชนิดต่าง ๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
* การควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทเถา
* การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืช
3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิด หรือคิดขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ จากเนื้อหาวิชาการ หลักการ ทฤษฎีต่าง ๆ นำมาปรับปรุง พัฒนา ให้สอดคล้องมีความชัดเจน มีผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการและเชื่อถือได้ เช่น
* การใช้สมุนไพรในการปราบศัตรูพืช
* การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการถนอมอาหาร และปรุงอาหาร
* เกษตรแบบผสมผสาน
* เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา

4.โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้ โดยประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่างๆ หรืออาจเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้นใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น
* การประดิษฐ์เครื่องควบคุมการรดน้ำ
* การประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุ
* การประดิษฐ์ของชำร่วย
* การออกแบบเสื้อผ้า

ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน

1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน/โรงเรียน/วันเดือนปีที่จัดทำ
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. บทคัดย่อ บอกเค้าโครงย่อยๆประกอบด้วย เรื่อง….วัตถุประสงค์……วิธีการศึกษาและสรุปผล
5. กิตติกรรมประกาศ (แสดงความขอบคุณ บุคคล หรือหน่วยงาน ที่มีส่วนในการให้ความช่วยเหลือ ในดำเนินโครงงาน)
6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
7. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
8. สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
9. วิธีดำเนินการ
10. สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
11. อภิปรายผล / ประโยชน์ / ข้อเสนอแนะ
12. เอกสารอ้างอิง

แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน……………………………………………………………
รายวิชา………………………………………………………
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………เลขที่ …………ชั้น ……………
2…………………………………เลขที่ …………ชั้น ……………
โรงเรียน……………… อ. ………. จ. ……….
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ……………………………………..
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ …. ปีการศึกษา ………….

รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

2. วัตถุประสงค์
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

3. หลักการและทฤษฎี
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

5. แผนปฏิบัติงาน
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

7. เอกสรอ้างอิง
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

แหล่งอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/22/standard/p01.html

เริงชัย จงพิพัฒสุข , คู่มือผู้ปกครองและครู: การเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2545

ชัยมงคล เทพวงษ์ , โครงงานคอมพิวเตอร์, http://www.chaiwbi.com/

เข้าใจองค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานและองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

 

1.หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากการที่ผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางเข้าหน่วยรับเข้า ซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปนี้จะถูกแปลงให้เป็นตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสองเพื่อที่จะได้นำมาใช้ในการสร้างรหัสแทนจำนวนอักขระ หรือสัญาลักษณ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามที่เราต้องการ
จากนั้นคำสั่งจะถูกส่งไปที่หน่วยประมวลผลกลางเพื่อประมวลผลตามคำสั่งของเรา ในระหว่างของการประมวลผลหากมีคำสั่งผลลัพธ์จากการประมวลก็จะถูกส่งไปที่ความจำหลักประเภทแรมและอาจจะมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวผลไปแสดงยังหน่วยส่งออกได้อีกด้วย การส่งผลของการประมวลผลของข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส

 

2.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
2.1หน่วยรับข้อมูล
หน่วยรับข้อมูลเป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเป็นตัวกลางที่เชื่อมมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่มนุษย์ส่งเข้าไปให้อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้และนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ อุปกรณ์โอซีอาร์ สแกนเนอร์ เป็นต้น
2.2หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู
ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดที่เล็กมาก ภายในจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์
หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
1.ส่วนควบคุม
ทำหน้าที่สร้างสัญญาณและส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานเป็นระบบ
2.ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล
ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักของคณิตศาสตร์และหลักของตรรกศาสตร์
-หลักของคณิตศาสตร์ก็จะทำกับข้อมูลประเภทตัวเลข
-หลักของตรรกศาสตร์ก็จะทำข้อมูลเกี่ยวกับตัวอักษร สัญลักษณ์
2.3หน่วยความจำหลัก
มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆที่ป้อนเข้ามาเพื่อนำไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.หน่วยความจำถาวร (Read  Only  Memory :  ROM)  เป็นหน่วยความจำที่นำข้อมูลออกมาใช้เพียวอย่างเดียว โดยจะมีการบันทึกไว้ล่วงหน้าแล้ว ข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมจะอยู่อย่างถาวร
2.หน่วยความจำชั่วคราว(Random  Access  Memory : RAM)  เป็นหน่วยความจำที่สำหรับเก็บข้อมูลทั่วไป การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆเพื่อการเขียนและการอ่าน หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร แต่ถ้าไฟฟ้าดับข้อมูลก็จะสูญหาย
2.4หน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรอง แบ่งออกได้ตามความสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ประเภทดังนี้
1.หน่วยความจำสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยลำดับ
เป็นหน่วยความจำสำรองที่ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงลำดับ
2.หน่วยความจำสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
เป็นหน่วยความจำสำรองที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องอ่านเรียงลำดับ
2.5หน่วยส่งออก
แสดงข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ เช่น ปริ้นเตอร์ ลำโพง

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

คุณลักษณะ(specification)ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น

ความเร็วและความจุของฮาร์ดดิสก์

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.ซูเclip_image002ปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)เป็นคอมพิวเตอร์

ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุดมีขนาดใหญ่และราคาแพง

กว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอี่นออกแบบมาเพื่อใช้แก่ปํญหาทางวิทยา

ศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหลายวัน

 

 

 

 

2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีclip_image004

สมรรถนะหลักการทำงานสูงมี ความเร็วสูง เฟนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้

บริการผู้ใช้ได้หลายร้อยคน คอมพิวเตอร์ชนิดนี้มักใช้ในองค์กรใหญ่ๆ เช่น

ธนาคาร

 

 

 

 

3. มินิคอมพิวเตอร์ clip_image006(minicomputer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับองค์

กรขนาดกลางที่ใช้บริการแก่เครื่อง ลูกข่าย เช่น โรงแรม

 

 

 

 

 

 

4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)มีประ

สิทธิภาพสูงราคาไม่แพงมีความนิยมสูงเหมาะสำหรับ

ใช้ ส่วนตัวที่บ้านclip_image008

 

 

 

 

 

 

5.คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (handheld   computer)สามารถจัด

clip_image010การกับข้อมูลประจำวันได้ สร้าง ปฏิทิน บันทึกเตือนความจำ

เล่นเกม ชมภาพยนตร์ ฟังเพลง และรับ-ส่งจดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ได้ เป็นคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีอีเอ

 

 

 

อุปกรณ์ต่อพ่วง

หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้

1.แผงพิมพ์อักขระ เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัส แล้วส่งไปยังประมวลผล กลาง แป้นclip_image012พิมพ์โดยทั่วไปมี 50 แป้นขึ้นไปแบ่งเป็น

แป้นตัวเลขและแป้นอักขระ

 

 

 

2.เมาส์ เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์

clip_image014ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. เมาส์ทางกล

2. เมาส์แบบใช้แสง

 

 

 

 

 

3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา ซึ่งมี 3ประเภท clip_image016

1. ลูกกลมควบคุ

2.แท่งชี้ควบคุม

3.แผ่นรองสัมผัส

 

 

4.ก้านควบคุม เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะ

เป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่องclip_image018

 

 

 

 

 

 

5.จอสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือก

clip_image020ตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็น สัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปล

คำสั่งให้คอมพิวเตอร์

 

 

 

 

 

6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท

clip_image0221. เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการสะท้อนแสง

เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้า จากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็น

สัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

2. เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพ

และข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง ข้อมูลจะถูกแปลง

ในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ

3.กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็ทแฟลช

 

 

 

7.เว็บแคม เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่าน

clip_image024เว็บไซค์แล้วปรากฎบน หน้าจอได้

 

 

 

 

 

 

8.จอภาพ มี2 ชนิด

clip_image0261.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ ทำงานโดยเทคโน

โลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำ

แสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น

2.จอภาพแบบแอลซีดี ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบ

คุมทิศทางของพาราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและ

แผ่นเคลือบสารเรืองแสง ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ

 

 

 

9. ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่ง

clip_image028เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่ แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนา

ล็อกแล้วส่งไปยังลำโฟง

 

 

 

 

 

 

10.หูฟัง เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอม ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นclip_image030เสียง มีทั้งชนิดไร้สาย และมีสายบางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต

 

 

 

 

 

 

11. เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์

clip_image0321.เครื่องพิมพ์แบบจุด

2.เครื่องพิมพ์เลเซอร์

3.เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก

4.พล็อตเคอร์

 

 

 

 

12. โมเด็ม เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมclip_image034เข้ากับคู่สาย โทรศัพท์ แล้วโมเด็มจะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

 

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ

1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

1.ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)clip_image004

เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ

 

2.ซอฟต์แวร์ clip_image006

คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
  

 

 

 

 

3.ข้อมูลimage

เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ

 

 

4.บุคลากรclip_image007

ป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

 

 

 

 

 

 

 

 

5.ขั้นตอนการปฏิบัติ image

เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

 

 

 

 

 

ระบบสารสนเทศ
ความหมาย
ระบบสารสนเทศ (Information Systems) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง อาจหมายถึงระบบที่ดำเนินการจัดการข้อมูลข่าวสารในองค์กรให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นระบบระเบียบโดยไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในที่นี้จะหมายถึงระบบที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้มาเพื่อสารสนเทศเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้องที่สุด ดังนั้นระบบสารสนเทศในที่นี้จึงประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ผู้ใช้ กระบวนการ และตัว ข้อมูลหรือสารสนเทศโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบและประเมินผลระบบได้

จากความสำคัญของสารสนเทศ และการหาหนทางที่จะใช้เทคโนโลยีในการจัดการสารสนเทศ ใน พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยประกาศ อย่างเป็นทางการให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบข้อมูล ซึ่งมีเทคโนโลยีทาง ด้านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารเป็นตัวนำ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลักดัน ให้เกิดการใช้ ทรัพยากรของประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา ให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด รัฐบาลได้ลงทุน โครงการพื้นฐาน ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก  เช่น การขยาย ระบบโทรศัพท์ การขยาย เครือข่ายสื่อสาร การสร้างระบบฐานข้อมูล ทะเบียนราษฎร์  และระบบการจัดเก็บภาษี และ ศุลกากรด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ที่ ให้ความสำคัญเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ หลาย ประเทศทั่วโลกก็ได้ให้ความสำคัญเช่นกัน
และแต่ละประเทศได้ลงทุนทางด้านนี้ไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะ ข้อมูล เป็นกลไกสำคัญในเชิงรุก เพื่อพัฒนาประเทศชาติ สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ อีกทั้งยัง เพิ่มคุณภาพชีวิต กระจายความเจริญสู่ชนบท และสร้างความเสมอภาค ในสังคม สังคมความเป็นอยู่และการทำงานข้องมนุษย์มีการรวมกลุ่ม เป็นประเทศ การจัดองค์การ เป็นหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน และภายในองค์การต้องมีการแบ่งย่อยกันเป็นกลุ่ม เป็นแผนก เป็นหน่วยงาน ภายในหน่วยงานย่อย ก็มีระดับบุคคล การทำงาน ในระบบองค์การหนึ่ง ๆ จะมีความซับซ้อนพอควร ตัวอย่าง เช่น องค์การระดับโรงเรียน ตั้งแต่นักเรียนมอบตัว เข้าเป็น นักเรียนของ โรงเรียนจะมีการเก็บบันทึกข้อมูลประวัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เมื่อลงทะเบียน เรียนวิชาต่าง ๆ ก็มี การบันทึก เก็บข้อมูล มีการชำระเงินค่าลงทะเบียน มีการายงานผลการเรียน องค์การระดับโรงเรียน จึงมีข้อมูล มากมาย เกี่ยวข้องกับนักเรียน วิชาเรียน การเงิน วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น อาคารสถานที่ และส่วนที่เชื่อมโยงกับหน่วงงานอื่นในระดับกรม และกระทรวงที่ดูแลโรงเรียนอีกด้วย
ในองค์การเอกชนหรือบริษัท ไม่ว่าจะเป็นองค์การเล็กหรือใหญ่ก็ต้องเกี่ยวข้องกับสารสนเทศด้วยกันทั้งนั้น เกี่ยวข้องกับข้อมูล สินค้า ลูกค้า การค้าขาย การผลิต การว่าจ้าง และการเงิน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในองค์การพอที่จะแบ่งการจัดการสารสนเทศขององค์การได้ตามจำนวนคนที่เกี่ยวข้อง ตามรูปแบบการรวมกลุ่มขององค์การได้ 3 ระดับ คือ
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม และระบบสารสนเทศระดับองค์การ

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

     

    คอมพิวเตอร์ คือ

    อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติและให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ  ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ รวมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

    การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ

  • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

  • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

  • หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

  • หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)

  • หน่วยแสดงผล (Output Unit)

              กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ  เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรมหรือชุึดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก  จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน  เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน  ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล  แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก  ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า  การประมวลผล  แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ  และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์

    หน่วยรับข้อมูล คือ

              เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

    อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่imageimage

    imageimage

    หน่วยประมวลผลกลาง คือ

              ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

    หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

  • หน่วยควบคุม (Control Unit)

    ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง

  • หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น

    –  การคำนวณทางคณิตศาสตร์  ได้แก่  การบวก ลบ คูณ หาร

              –   การกระทำทางตรรกะ (AND , OR)

            –   การเปรียบเทียบ  เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน  มากกว่า  หรือน้อยกว่า  ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้

            –   การเลื่อนข้อมูล (Shift)

              –   การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)

              –   การตรวจสอบบิท (Test  Bit)

    หน่วยความจำหลัก  เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

              1. รอม (ROM : Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่

                        –  ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง

                        –  เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร

                        –  ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่

                        –  เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก

                        –  อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

              2. แรม (RAM : Random Access Memory)

                        –  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล  เพื่อนำไปประมวลผล

                        –  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย 

                        –  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย

                        –  ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง

                            เพื่อใช้ในการประมวลผล

                        –  เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง

                        –  สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย

                        –  การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

    หน่วยความจำสำรอง  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้   ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก

    อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่

  • จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) 

    ฮาร์ดิสก์

    จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access)  ได้แก่  ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์

  • เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป

  • จานแสง (Optical Disk) 

    เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive)

    เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM  (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้

    หน่วยแสดงผล คือ

              อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล

    การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ

  • แสดงผลทางบนจอภาพ 

    การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640 * 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด

  • แสดงผลทางเครื่องพิมพ์

    การแสดงผลทางจอภาพ  หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can alway preview any post or edit you before you share it to the world.